วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย

ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย
                อาณาจักรสุโขทัย เกิดจากความรักชาติ ความเสียสละ และความสามารถของบรรพบุรุษไทย ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีพัฒนาการที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง มีความเจริญก้าวหน้า   ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรม จากผลงานและความสามารถของบรรพบุรุษไทยเป็นผู้สร้างมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นรากฐานของการพัฒนาชาติบ้านเมืองสืบทอดมาเป็นลำดับ
                การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีใน
ปี พ.ศ. 1762 ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา ได้มีเมืองสุโขทัยที่มีความเก่าแก่ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ผลจากการตีความในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ระบุว่าเดิมเมืองสุโขทัยมี      ผู้นำคนไทยชื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ ภายหลังเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว ขอมสมาดโขลญลำพง* เป็นนายทหารขอมที่เป็นใหญ่ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้ ทางฝ่ายไทยได้มีการเตรียมการเพื่อยึดเมืองสุโขทัยกลับคืนจาก                     ขอมสมาดโขลญลำพง โดยมีผู้นำไทย 2 คน ได้แก่ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ          พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด พ่อขุนทั้งสอง เป็นสหายสนิทกัน และมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ร่วมกันนำกำลังเข้าชิงเมืองสุโขทัยกลับคืนมา เมื่อยึดเมืองสุโขทัยจากขอมได้เรียบร้อยแล้ว             พ่อขุนผาเมืองได้ยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย เพื่อให้กองทัพของพ่อขุนบางกลางหาวเข้าสู่เมืองสุโขทัย พร้อมกันนั้น พ่อขุนผาเมืองทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย แล้วถวายพระนามของพระองค์ที่ได้รับจากกษัตริย์ขอม คือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์          ให้เป็นเกียรติแก่พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมทั้งมอบพระขรรค์ไชยศรี แต่พ่อขุนบางกลางหาว      ทรงใช้พระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
ของอาณาจักรสุโขทัย  นับตั้งแต่พ.ศ. 1762 เป็นต้นมา อาณาจักรสุโขทัยได้กลายเป็นศูนย์กลางที่มี      อาณาเขตกว้างขวางมีหัวเมืองต่าง ๆ ที่คนไทยรวมตัวกันอยู่เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรที่ตั้งขึ้นใหม่
ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
1. ขอมเสื่อมอำนาจลง หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1724-1761) สิ้นพระชนม์ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ปกครองต่อมาอ่อนแอ ขาดความเข้มแข็ง จึงเกิดช่องว่างของอำนาจทางการเมืองขึ้นในดินแดนแถบนี้ เปิดโอกาสให้บรรดาหัวเมืองต่างๆเติบโต และตั้งตนเป็นอิสระ
2. ความสามารถของผู้นำและความสามัคคีของคนไทย ได้แก่ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันผนึกกำลังต่อสู้นายทหารขอม จนได้รับชัยชนะ สามารถประกาศตนเป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม
                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย และมีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมา 9 พระองค์ ดังนี้
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยหรือราชวงศ์พระร่วง 
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  ณ นคร ได้สรุปจำนวนกษัตริย์และปีที่ครองราชสมบัติไว้ ดังนี้

ลำดับที่
รายพระนาม /
ปีที่ครองราชสมบัติ
เหตุการณ์สำคัญ / พระราชกรณียกิจ
1.
พ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์
(พ.ศ. 1762 – 1781)
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง เมื่อครั้งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์บ้านเมืองยังไม่สงบ ขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอดยกทัพมาตีเมืองตาก หากขุนสามชนยึดเมืองตากไว้ได้ก็อาจจะยกทัพผ่านมายังเมืองศรีสัชนาลัย และสุโขทัยตามลำดับ  พ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์ทราบว่ามีกองทัพโจมตีเมืองตาก  จึงได้ยกทัพมาจากเมืองสุโขทัยพร้อมด้วยพระราม พระโอรสองค์ที่ 2 ทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดจนได้รับชัยชนะ
2. อาณาจักรสุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ โดยพระองค์ทรง
ผูกมิตรไมตรีกับ   พระเจ้าสิริธรรม แห่งเมืองนครศรีธรรมราช โดยแต่งทูตไปลังกา พร้อมกับทูตของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อติดต่อ
ขอพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่อาณาจักรสุโขทัย
2.
พ่อขุนบานเมือง
(พ.ศ.1822 - 1842)
พ่อขุนบานเมืองทรงเป็นราชโอรสองค์โตของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ในสมัยที่พระราชบิดาทรง       ครองราชสมบัติ พระองค์คงจะได้เคยเป็นพระมหาอุปราชหรือได้รับมอบหมายให้ปกครองบ้านเมืองระหว่างที่มีสงครามและในสมัยที่พ่อขุนบานเมืองทรงครองราชสมบัติได้มีการปราบปรามหัวเมืองบางแห่ง

3.
พ่อขุนรามคำแหง
ปีที่พ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์ เดิมสมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าประมาณพ.ศ. 1820 แต่จากการสัมมนาประวัติศาสตร์สุโขทัยวิเคราะห์กันแล้วว่าน่าจะเป็น พ.ศ. 1822
* ในที่นี้ขอใช้คำว่า
พ่อขุนรามคำแหง ซึ่งชื่อเดิมของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ         พ่อขุนราม แต่เมื่อครั้งพระองค์อาสาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระราชบิดา ออกรบชนช้างกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อได้รับชัยชนะ  พ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์จึงสถาปนาเป็นพ่อขุนรามคำแหง

1. พ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์ และพระนางเสือง ทรงพระราชสมภพ เมื่อประมาณ
ปี พ.ศ. 1800 มีพระนามเดิมว่าพระร่วง มีความหมายว่า รุ่งโรจน์ 
2. ขณะที่พ่อขุนรามคำแหง มีพระชนมายุ 19 พรรษา พระองค์ทรงตามเสด็จพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาไปในการทำศึกสงครามกับ
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด  ซึ่งยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก โดยพ่อขุนรามคำแหงทรงแสดงพระปรีชาสามารถโดยไสช้างพระที่นั่งของพระองค์เข้าช่วยพระราชบิดาจนได้รับชัยชนะ ด้วยความกล้าหาญของพระองค์ พระราชบิดาได้พระราชทานนามให้พระองค์ว่า รามคำแหงหมายถึง
ผู้กล้าหาญ
3. ทรงประดิษฐ์อักษรไทย การประดิษฐ์อักษรไทยนับเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของอาณาจักรสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1826 สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอมและมอญ และพระองค์ทรงจารึกตัวอักษรลงในหลักศิลาจารึกที่เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ในรัชกาลของพระองค์และสังคมสุโขทัย
4. ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชนชาติไทยเรืองอำนาจเหนือดินแดนในสุพรรณภูมิ อีกทั้งยังมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาล
ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ดังนี้

การแบ่งยุคของสมัยก่อนประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์  หมายถึง  ระยะเวลาในอดีตที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  เนื่องจากเป็นสมัยที่ยังไม่พบหลักฐานเป็นตัวหนังสือ หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์แบ่งย่อยเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. โบราณสถาน ได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัย เช่น ถ้ำ เพิงผาหิน เป็นดินใกล้แหล่งน้ำ
2. โบราณวัตถุ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะหยาบ เครื่องมือหินขัด เครื่องสำริดและเหล็ก เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดที่ทำด้วยดินเผาและหินสี เปลือกหอย โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์
3. โบราณศิลปกรรม ได้แก่ ภาพเขียนสีและภาพจำหลัก ซึ่งล้วนแล้วได้ทำขึ้นบนผนังถ้ำหรือเพิงผา
การแบ่งยุคของสมัยก่อนประวัติศาสตร์
         
ภาพโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
ที่มาภาพ  ประวัติศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์ กรมวิชาการ. หน้า 8.
การแบ่งยุคของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
การศึกษาค้นคว้า  เรื่องราวเกี่ยวกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือใช้ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งตามชนิดของวัสดุและวิธีการนำวัสดุมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ ได้แก่
  1. ยุคหิน
  2. ยุคโลหะ
1. ยุคหิน เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า
ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่
     
ประกอบชิ้นส่วนของกะโหลกมนุษย์ปักกิ่ง    ภาพสันนิษฐานของมนุษย์ปักกิ่ง 
           ที่มาภาพ  ที่มาภาพ  http://image.dek-d.com/ 22/1107251/102204911
 
ภาพขวานหินกะเทาะยุดหินเก่าอายุ 4000-10,000 ปี 
พบที่ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนาบุรี
ที่มาภาพ  กรมวิชาการ ศธ, ลพบุรี
มนุษย์สมัยหินเก่านำหินกรวด
1.1 ยุคหินเก่า มีอายุระหว่าง 500,000 – 10,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในหินเก่า ยังเป็น
พวกเร่รอน ไม่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผาพึ่งธรรมชาติ ใช้หินเป็นอาวุธในการล่าสัตว์
เก็บเผือก มัน และผลไม้เป็นอาหาร ใช้รากไม้ หรือใบไม้รักษาการเจ็บป่วย ยังไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์
และการทำเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินกะเทาะหยาบด้านเดียว โดย ดร. แวน
ฮิกเกอร์แรน ชาวฮอลันดา ขณะเป็นเชลยศึกญี่ปุ่นก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะที่จังหวัดกาญจนบุรี  ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ขุดพบเครื่องมือหินกะเทาะ  บริเวณใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า  (ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 35 กิโลเมตร) จากการตรวจสอบหลักฐานพบว่าเครื่องมือหินกะเทาะหยาบเหล่านี้มีมานานแล้ว แต่ไม่พบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินเก่าในดินแดนประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่ามนุษย์ยุคหินเก่ามีรูปร่างอย่างไร  การสันนิษฐานต้องอาศัยการเทียบเคียงรูปร่างของมนุษย์ยุคหินเก่าที่ขุดพบโครงกระดูกในประเทศจีน ได้แก่ มนุษย์ปักกิ่ง และที่เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ มนุษย์ชวา นอกจากจะพบเครื่องมือหินเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังพบในบริเวณอื่นๆ เช่นพบที่ภูเขาถ้ำหินปูน จังหวัดเชียงใหม่ และดอยถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย
 รูปปั้นจำลองวิถีชีวิตชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า 
  ที่มาภาพ  http://61.19.236.136/tourist2009images/71/ 71-737/DSCF0114.jpg
  รูปปั้นจำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่อาศัยถ้ำและเพิงผาเป็นที่อยู่อาศัยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า
  ที่มาภาพ  http://www.muangkantoday.comimages/bankao.gif
1.2 ยุคหินกลาง มีอายุระหว่าง 10,000 – 7,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคหินกลางยังคงอาศัย    อยู่ตามถ้ำและเพิงผาใกล้ลำธาร รู้จักปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินให้มีความประณีต
  มากขึ้น โดยมีการกะเทาะคมทั้ง 2 ด้าน มีการนำกระดูกสัตว์ และเปลือกหอยมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ นอกจากนั้นยังได้มีการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาอย่างง่ายเป็นหม้อ หม้อน้ำ และชาม
  ผลจากการขุดค้นสำรวจของดร.เชตเตอร์  เกอร์แมน (Chester Gorman) นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้เคยสำรวจที่ถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบหลักฐานของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 1,200 ปี  ซึ่งจัดเป็นพวกเดียวกับวัฒนธรรมหันบินห์หรือฮัอบินเหียนในเวียดนาม  พบกระดูกของกวางป่า แมวป่า กระรอก ปู ปลา หอย  พบเมล็ดพืชหลายชนิด เช่น หมาก
  น้ำเต้า ถั่ว นอกจากนั้นที่บริเวณถ้ำผาชัน และถ้ำบุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เกอร์แมนได้พบหลักฐานของมนุษย์อายุราว 7,000 – 4,000 ปี พบโลงศพทำด้วยไม้คล้ายเรือขุดจากต้นซุง ลูกปัดและหม้อดินเผา ซากพืช เช่น ข้าวหมาก พลู พริกไทย กระดูกสัตว์ เช่น แรด หมูป่า กวาง วัวป่า


  เครื่องมือหินกะเทาะยุคหินกลาง
ที่มาภาพ  https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhQsvLBUgwyFWFUgeYOUE4T2akYulJMAYQb4fh67xSvvrEF_zl6B5WyYBCEhfWKfE25NnYff-M_JnFD53oIZ1K_PPA3T6taN8q1zuLBn2bF8h0f7DjV9kRUQYx1-b9siIg6CMU_UioeswwA/s400/300px-
Acheuleanhandaxe.jpg 
1.3 ยุคหินใหม่  มีอายุระหว่าง 7,000 – 5,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคหินใหม่พึ่งธรรมชาติน้อยลง รู้จักสร้างบ้านเรือนอยู่ริมน้ำหรือที่มีน้ำท่วมไม่ถึง รู้จักการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก ทอผ้า รู้จักการทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินที่ได้มีการพัฒนาขึ้น โดยการขัดให้เรียบ เรียกว่า ขวานหินขัดหรือ              ขวานฟ้า ที่มีความคม ชัดเจน และยังรู้จักการนำหิน เปลือกหอย มาทำเครื่องประดับ เช่น ลูกปัด แหวน กำไลหิน มีการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะขัดมันสีดำ มีทั้งแบบผิวเรียบและลวดลาย
โดยใช้เชือกทาบทำลวดลาย  มีทั้งชนิดสามขา และชนิดไม่มีขาและรู้จักวาดภาพตามผนังถ้ำ  ซึ่งได้มี
การขุดพบที่บ้านเก่าและที่ถ้ำพระ จังหวัดกาญจนบุรี ที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี1 นอกจากนั้นยังมีประเพณีการฝังศพคนตาย  เมื่อมีคนตาย ญาติจะนำศพไปฝัง  ในหลุมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ใส่โลง จัดศพให้นอนท่าหงาย แขนทั้งสองข้างแนบกับร่าง มีการฝังศพโดยหันศีรษะไปทางทิศต่างๆ แต่ไม่พอ โครงกระดูกใดหันศีรษะไปทางทิศตะวันตกโดยวางเครื่องปั้นดินเผาไว้เหนือศีรษะ ปลายเท้าเหนือเข่า และยังใส่เครื่องใช้และเครื่องประดับลงไปในหลุมด้วย

เครื่องปั้นดินเผา ภาชนะเก็บอาหาร 
ที่มาภาพ  http://human.tru.ac.th/elearning/local/global01images/pic/new_stone02.jpg
2. ยุคโลหะ เริ่มต้นเมื่อประมาณระหว่าง 6,000 – 2,800 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคโลหะรู้จักพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ โดยการนำโลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน ยุคโลหะแบ่งออกเป็น 2 ยุค ดังนี้
2.1  ยุคสำริด มนุษย์ในยุคสำริดมีความรู้ทางเทคโนโลยี โดยรู้จักนำทองแดงและดีบุกมาหลอมผสมเป็นสำริด ประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หอก ใบหอก ขวาน กำไล เบ็ด และ
กลองมโหระทึก
กลองมโหระทึกที่มนุษย์ยุคสำริดประดิษฐ์ขึ้น 
ที่มาภาพ  http://janghuman.files.wordpress.com/2008/08/dsc03797.jpg
2.2 ยุคเหล็ก มนุษย์ในยุคเหล็กมีวิวัฒนาการสูงขึ้น รู้จักการถลุงเหล็ก เพื่อนำโลหะเหล็กมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด เครื่องใช้ที่มนุษย์ยุคเหล็กประดิษฐ์ขึ้น เช่น หอก ใบหอก ขวาน มนุษย์ในยุคเหล็ก พึ่งธรรมชาติน้อยลง รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า
ทำเครื่องนุ่งห่ม สร้างบ้านเรือน โดยรู้จักการพัฒนาขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นลวดลายหลายสี และรู้จักการทำเครื่องประดับ เช่น กำไล แหวน ลูกปัด ที่มีความประณีตงดงาม บริเวณที่มีการขุดพบร่องรอยของมนุษย์ในยุคโลหะ ได้แก่ ที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
 
เครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ในยุคเหล็กได้ประดิษฐ์ขึ้น 
ที่มาภาพ  http://e-learning.mae-ai.ac.th/courses/53/Bronzeage.jpg
แหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่บริเวณบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้มากมาย โดยเฉพาะภาชนะดินเผาที่มีความสวยงาม ประณีต เขียนสีเป็นลวดลายงดงาม ได้แก่ ลายก้นหอย ลายรูปสัตว์ ลายเส้นโค้ง และลายรูปเรขาคณิต น่าจะทำไว้สำหรับใช้ในพิธีฝังศพโดยเฉพาะพบใบหอกทำด้วยเหล็กด้ามหุ้มสำริด สันนิษฐานว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งอารยธรรมในดินแดนประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น มนุษย์ยุคโลหะรู้จักการทอผ้าไหม
ใช้แล้วมีหลักฐานจากใยไหมที่พบที่โครงกระดูกมนุษย์ที่บ้านเชียงและรู้จักการปลูกข้าว
โดยใช้ระบบชลประทานแทนการทำไร่เลื่อนลอย มีการใช้ควายในการไถนา
นอกจากนั้นที่บ้านเชียง ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก ประเพณีการฝังศพจึงนับเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของบ้านเชียงก่อนที่จะนำศพไปฝัง จะแต่งตัวให้กับผู้ตายและใส่เครื่องประดับ ลักษณะของศพฝังสมัยปลายของบ้านเชียงในลักษณะท่านอนเหยียดยาว แล้ววางภาชนะดินเผาทับไว้บนศพ  ส่วนภาชนะดินเผาช่วงต้นของสมัยปลายจะเป็นการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีนวล  ต่อมาในช่วงกลางสมัยเริ่มมีภาชนะดินเผาเขียนลายสีแดงบนสีแดง ถัดมาในช่วงสุดท้ายของสมัยเริ่มมีภาชนะดินเผาชนิดฉาบผิวนอกด้วยน้ำโคลนสีแดง  แล้วขัดมัน
ไหเขียนสีบ้านเชียงจัดแสดงไว้ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง 
ที่มาภาพ  อุดรธานี กำเนิดยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอารยธรรม. หน้า 185.
37FEEEA6
พิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง บ้านเชียงที่วัดโพธิ์ศรีใน
แสดงหลุมฝังศพที่มีภาชนะดินเผาลายเชียงสี วางบนศพ
 
ที่มาภาพ  อุดรธานี กำเนิดยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอารยธรรม. หน้า 184.

ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย

ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย 
                การศึกษาเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีเศษมาแล้ว โดยนักวิชาการชาวตะวันตก ต่อมาได้มีนักวิชาการสาขาต่างๆ ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศได้ศึกษาค้นคว้าต่อมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าได้อาศัยหลักฐานต่างๆ เช่น โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเครื่องใช้ เอกสารโบราณจีน หลักฐานทางภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลจากการค้นคว้าปรากฏว่านักวิชาการและผู้สนใจเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยต่างเสนอแนวคิดไว้หลายอย่าง แต่ยังไม่มีแนวคิดใดเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ในระยะแรกๆ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนประเทศจีน ต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นกระจายออกไป และได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ดังนี้
แนวคิดที่ 1  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนแถบเทือกเขาอัลไต
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน  บริเวณเทือกเขา
อัลไต
1. ดร.วิลเลียม
คลิฟตัน  ดอดด์ : Dr.william  Clifton  Dodd  มิชชันนารี  ชาวอเมริกันได้เข้ามายังเมืองไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วได้เดินทางไปยังประเทศจีน
เชื่อกันว่าพวกมุงเป็นบรรพบุรุษของไทยมีเชื้อสายมองโกล  เป็นชาติที่เก่าแกกว่าชาวฮีบรู  และจีน  เป็นเจ้าของถิ่นเดิมของจีนมาก่อนตั้งแต่ประมาณปีที่  1657  ก่อนพุทธศักราช  ต่อมาได้อพยพจากบริเวณเทือกเขาอัลไต มายังด้านตะวันตกของจีน  แล้วถอยร่นลงมายังบริเวณตอนกลางของจีนมาสู่ตอนใต้ของจีนจนในที่สุดได้มีคนไทยอพยพสู่คาบสมุทรอินโดจีนได้เขียนหนังสือชื่อว่า 
The Thai Race-The Elder Brother of  the Chinese  หลวงแพทย์นิติสรรค์  แปลงเป็นไทยให้ชื่อว่า “ชนชาติไทย”
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
2. ขุนวิจิตรมาตรา
ที่มาภาพ http://www.numtan.com/story_2/picupreply/98-2-1081679827.jpg
 98-2-1081679827
ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขา อัลไต  ได้อพยพลงมาตั้งอาณาจักรนครลุงเป็นครั้งแรก  ต่อมาถูกพวกตาดมองโกลยึดครองจึงอพยพมาอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวนตั้งอาณาจักรใหม่  ชื่อว่า “ปา”  คนไทยเรียกว่า “อ้ายลาว”  หรือ “มุง”  ต่อมานครปาเสียแก่จีน  จึงมาตั้งนครเงี้ยว  “ที่ลุ่มแม่น้ำแองซี  ถูกจีนรุนหลายครั้ง  ในที่สุดชนชาติไทยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนสุวรรณภูมิ2ได้เขียนหนังสือชื่อ
“หลักไทย”
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 1 
                แนวคิดที่ 1  ไม่เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์  ในปัจจุบันเนื่องจากมีอุปสรรคในการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานของคนไทย  และไม่น่าจะอยู่ไกลถึงเทือกเขาอัลไต  ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก  นอกจากนั้นการเดินทางลงมาทางใต้ต้องผ่านทะเลทรายโกบี  อันกว้างใหญ่ไพศาล
 
แนวคิดที่ 2  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศบริเวณ
มณฑลเสฉวน
1.แตร์รีออง  เด ลา  คูเปอรี : Terrien de la Couperie ชาวฝรั่งเป็นศาสตร์ทางภาคศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน  ประเทศอังกฤษคนเชื้อชาติไทยเดิมตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรโบราณบริเวณตอนกลางของจีนแถบมณฑลเสฉวนประมาณ
ปีที่ 1765  ก่อนพุทธศักราช  จีนเรียกชนชาติไทยว่า “มุง”  หรือ “ต้ามุง”
ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาติไทย  โดยอาศัยหลักฐานบันทึกของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ได้เสนอแนวคิดไว้ในงานเขียน  2  ชิ้น  คือ
1. The Cradle of The Siam 
Race
2. The Languages of 
China  Before The
Chinese
d44_adj2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม-พระยา ดำรงราชานุ-ภาพ
ที่มาภาพwww.lib.ru.ac.th/journal/damrong.html
 

ชนชาติไทย  แต่เดิมตั้งบ้านเรื่องอยู่ระหว่างประเทศทิเบตกับจีนประมาณปี พ.ศ.500 ถูกจีนรุนราน  จึงอพยพถอยร่นมาทางตอนใต้ของจีน  และแยกย้ายเข้าไปทางทิศตะวันตกของ
ยูนนานได้แก่  สิบสองจุไทย  ล้านนา
ล้านช้างอยู่ทางตอนกลางของยูนนาน
ได้ทรงแสดงแนวทรรศนะไว้ในพระนิพนธ์  ชื่อ “แสดงบรรยายพงศาวดารสยามและลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ2
แนวคิดที่ 2  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
3. หลวงวิจิตรวาท-การคนไทยเคยอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นมณฑลเสฉวน  หูเป่ย์  อานฮุย  และเจียงซี  ในตอนกลางของประเทศจีนแล้วได้อพยพมาสู่มณฑลยูนานและแหลมอินโดจีนได้เรียบเรียงหนังสือ ชื่อว่า “งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย”
4. พระบริหารเทพ-ธานีถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศจีน  แล้วถอนร่นมายังบริเวณมณฑลยูนาน และลงมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสนอแนวคิดไว้ในผลงาน “พงศาวดารไทย”
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 2 
ระยะต่อมามีนักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง  เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษาลักษณะเผ่าพันธุ์  จากหลักฐานประเภทจดหมายเหตุจีน  กล่าวถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับคนไทย  ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันมากนัก  ดังนั้นแนวคิดนี้จึงไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ
แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์   สุคันธเมศวร์
แนวคิดที่ 3  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนบริเวณมณฑลเสฉวน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน1. อาร์ชิบัลด์  รอสส์ คอลูน : Archibald Ross Colquhoun นักสำรวจชาวอังกฤษเดินทางสำรวจ  โยเริ่มจากกวางตุ้งของจีนถึงเมืองมัณฑะเลย์  ในสหภาพพม่าและรัฐอัสสัมในสาธารณรัฐอินเดียพบกลุ่มชนชาติไทยอาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของจีน  มีภาษาพูดและความเป็นอยู่คล้ายคลึงกันในบริเวณที่ได้เดินทางสำรวจได้เสนอแนวคิดในบทความเรื่อง Across Chryse
2. อี.เอช.ปาร์เกอร์ : E.H.Parker  เป็นชาวอังกฤษเคยเป็นกงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหล่ำในพุทธศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยได้ตั้งอาณาจักรน่าเจ้าที่มณฑลยูนนาน  ต่อมาลูกจีนรุกรานถอยร่นลงมาทางตอนใต้ของจีนได้เขียนบทความเรื่อง
The old Thai Mmpire 
ในปี พ.ศ.2437  โดยใช้ตำนานของจีนตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
3. ศาสตราจารย์โวลแฟรม อีเบอร์ฮาร์ด :Wolfram  Eberhard
นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันได้ศึกษาเรื่องชนเผ่าไทยเมื่อปี พ.ศ.2491
ชนเผ่าไทยอยู่ในบริเวณมณฑลและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย  แล้วได้สร้างอาณาจักรเทียนที่มณฑลยูนนาน  ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน  ต่อมาสมัยราชวงศ์ถังของจีนชนเผ่าไทยได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้า มณฑล
ยูนนาน
ได้เสนอแนวคิดไว้ในหนังสือชื่อ A History of china

แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
4. เฟรเดอริค โมตะ : Ferderick Mote นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีน  ได้ศึกษาเอกสารสำคัญเกี่ยวกับสมัยน่านเจ้าโบราณพวกที่ปกครองน่านเจ้าคือพวกไป๋  และพวกยี๋  คนไทยที่น่านเจ้าเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง  แต่มิได้อยู่ในชนชั้นปกครองได้ให้ทัศนะไว้ในบทความชื่อ Problems of  Thai  Prehistory : ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์ไทย
5. จิตร ภูมิศักดิ์  มีผลงานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยคนไทยอาศัยกระจัดกระจายบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือของไทย  ลาว  เขมร  พม่า และรัฐอัสสัมของอินเดียได้เสนอแนวคิดไว้ในงานเขียนชื่อ 1.ความเป็นมาของคำสยามไทย  ลาว  และขอม  2.ลักษณะทางสังคมและยึดชนชั้น
6. ขจร  สุขพานิช
นักประวัติศาสตร์ไทยที่สนใจศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของชนชาติไทย
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้งและกวางสี  ต่อมาได้อพยพลงมาทางตะวันตก  ตั้งแต่ยูนนานและลงมาทางตอนใต้ผ่านผ่านเขตสิบสองจูไทยลงมาที่ประเทศลาวได้เสนอแนวความคิดในเรื่อง “ถิ่นกำเนิดและแนวอพยพของเผ่าไทย”
7. พระยาประชากิจกรจักร
(แช่ม  บุนนาค)
ถิ่นกำเนิดเดิมของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีนได้ค้นคว้าจากเอกสารทั้งไทยและต่างประเทศ  เมื่อประมาณปี พ.ศ.2441  ได้เรียบเรียงลงในหนังสือ
วชิรญาณ  เรื่องพงศาวดารโยนก
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 3 
          แนวคิดที่ 3 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป  ในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย
 
แนวคิดที่ 4 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณดินแดนประเทศไทย

แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของ
ชนชาติไทยอยู่บริเวณดินแดนประเทศไทย
1. พอล เบเนดิกต์
(Paul  Benedict) นักวิชาการชาวสหรัฐอเมริกา
ชนชาติไทยน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันในราว 4,000 – 3,000 ปีมาแล้ว จากนั้นมีพวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโดจีนได้ผลักดันให้คนไทยกระจัดกระจายไปหลายทาง โดยกลุ่มหนึ่งอพยพไปทางตอนใต้ของจีนในปัจจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจึงถอยร่นลงไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย ตังเกี๋ย ดังนั้นจึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์ โดยเชื่อว่า ผู้คนที่อยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนย่อมมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยยอมรับว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ใหญ่ ภาษาหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด
แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้าน
กายวิภาคศาสตร์
ดินแดนประเทศไทยน่าจะเป็นที่อยู่ของบรรพบุรุษคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หนังสือเรื่อง                         “ก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย” โดยศึกษาเปรียบเทียบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินใหม่จำนวน 37 โครงที่คณะสำรวจไทย – เดนมาร์ก   ขุดพบบริเวณแม่น้ำแคว  ในจังหวัดกาญจนบุรี      ผลการศึกษาพบว่า      โครงกระดูกมนุษย์ของ   ยุคหินใหม่ มีลักษณะเหมือนโครงกระดูกของ คนไทยในปัจจุบัน
แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
3. ศาตราจารย์ชิน อยู่ดี  ผู้เชี่ยวชาญ ทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยพื้นที่ซึ่งเป็นดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันมีร่องรอยของผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุค
หินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ ยุคโลหะและเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ เนื่องจากแต่ละ  ยุคได้แสดงความสืบเนื่องทางวัฒนธรรมของคนไทยจนถึงปัจจุบัน เช่น  ประเพณีการ          ฝังศพ  เครื่องใช้เกี่ยวกับการเกษตร
จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีโดยเฉพาะ     ทางโบราณคดีสมัย       ก่อนประวัติศาสตร์
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 4 
เนื่องจากนักวิชาการกลุ่มนี้ มักอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลักในการพิสูจน์แนวคิดของตนเอง ดังนั้นข้อสันนิษฐานของนักวิชาการกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการในปัจจุบันมากนัก แนวคิดนี้ยังต้องอาศัยการค้นคว้าด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหาข้อสรุปต่อไป

แผนที่แสดงแนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทย 
ที่มาภาพ นางพีรทิพย์   สุคันธเมศวร์

แนวคิดที่ 5 เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนหรือคาบสมุทรมลายู
                      และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย

แนวคิด
ผู้เสนอแนวคิด
ถิ่นฐานเดิมและการอพยพ
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทร
อินโดจีนหรือคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย
นักวิชาการทางการแพทย์โดย นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ
นายแพทย์ประเวศ
วะสี  คณะนักวิจัย ด้านพันธุศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากผลงานการวิจัยทาง     พันธุศาสตร์ของนายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เกี่ยวกับหมู่เลือด ลักษณะและความถี่ของยีน พบว่าหมู่เลือดของ คนไทยมีความคล้ายคลึงกับคนชาวเกาะชวา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้มากกว่าของคนจีนที่อยู่ทางตอนเหนือรวมทั้ง ลักษณะความถี่ของยีนระหว่างคนไทยกับคนจีน
ก็มีความแตกต่างกันและ    จากผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี ของนายแพทย์ประเวศ วะสี พบว่า ฮีโมโกลบิน อี พบมากในผู้คนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือไทย เขมร มอญ ปรากฏว่าฮีโมโกลบิน อี    แทบจะไม่มีในหมู่คนจีน
1. ผลงานการวิจัยทาง   พันธุศาสตร์ของนายแพทย์สมศักดิ์   พันธุ์สมบุญ เกี่ยวกับหมู่เลือดลักษณะและจำนวนของยีน
2. ผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี ของนายแพทย์ประเวศ  วะสี
ข้อสรุปของแนวคิดที่ 5 
                ชนชาติไทยน่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน หรือคาบสมุทรมลายูและ       หมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย แต่แนวคิดนี้ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการที่ค้นคว้าเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้ว แคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง (อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่ แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรี แคว้นละโว้หรือลพบุรี เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจนถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละโว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17 ◦ แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (พม่า) เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601 ◦ พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น กรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้ ◦มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893 ◦ มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน ◦มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สนับสนุนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา 1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่ 2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน 3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้ 4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสักและลพบุรี ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป 5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการสร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้ 1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย ◦รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร 2 ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น ◦รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี 2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้ ◦รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900 แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี ◦รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช ◦รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของสุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระธิดาแห่งกรุงสุโขทัย ◦รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา 3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้ ◦ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน ◦ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย ◦ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ◦ ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ◦ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น

ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย

เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อม ลง พระมหากษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พระยา เลยไทย (รัชกาลที่ 4) และพระยางั่วนำถม (รัชกาลที่ 5) ไม่สามารถ รักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมได้ บรรดาหัวเมืองและอาณาจักรที่เคยอยู่ ในอำนาจต่างพากันแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ ในจำนวนนี้มีเมืองสำคัญคือ เมืองอู่ทอง ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะก่อตั้งขึ้นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนของประเทศในอดีต เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี ฟูนัน ศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช เป็นต้น สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญและขอม การก่อกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1780 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติขอม รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ซึ่งในบริเวณดินแดนใกล้เคียงดังกล่าว ก็ยังมีผู้นำคนไทยที่ตั้งตัวเป็นอาณาจักรอิสระอีกแห่งหนึ่ง คือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 - 2310 ใน พ.ศ. 1890 ซึ่งเป็นปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัยนั้น เมืองอู่ทองเกิดภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน เกิดขาดแคลนน้ำ อหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก เจ้าเมืองอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทธสวรรย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน) ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ริมหนองโสน (บึงพระราม) แล้วประกาศสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893 และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กรุงศรีอยุธยาเป็นทำเลที่มีพื้นที่อันมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถือกันว่าเหมาะ คือ มีแม่น้ำ 3 สาย ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรี ไหลจากทิศเหนือโอบอ้อมไปทางทิศ แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านทางทิศใต้ แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านทางทิศตะวันออก จึงทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีลักษณะเป็นเกาะ เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร สะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศเพราะใกล้ทะเลเป็นชุมทางค้าขายที่สำคัญ ทั้งยังมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ มีแม่น้ำล้อมรอบ เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติได้อย่างดี ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตีหรือล้อมกรุงไว้ได้นาน เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะท่วมถึงบริเวณนี้โดยรอบอีกด้วย

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่จดบันทึกไว้เรียกว่า ข้อมูล เมื่อจะใช้ข้อมูลควรต้องดาเนินการ ดังนี้ 1. การแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นของผู้เขียน ผู้บันทึก หรือผู้แต่ง ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันบ้าง แต่ความคิดเห็น เป็นส่วนที่ผู้เขียน ผู้บันทึก หรือผู้แต่ง ผู้ใช้หลักฐาน คิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องน่าจะเป็นอย่างไร 2. การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า ข้อเท็จจริง คำว่า ข้อเท็จจริง แยกออกเป็น ข้อเท็จจริงกับข้อจริง เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วย ข้อเท็จจริงกับข้อจริงหรือความจริง เช่น เรื่องราวการเสีย กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2310 ) ความจริง คือ ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112 และ พ.ศ. 2310 ส่วนข้อเท็จจริง คือ ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา เช่น คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม ผู้น่าอ่อนแอและมีความแตกแยกภายใน ทหารมีจำนวนน้อย มีอาวุธล้าสมัยและมีจำนวนไม่พอเพียง ข้าศึกมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง มีทหารจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่า ค าอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง ดังนั้นจึงเรียกคำอธิบายหรือเหตุผลว่า ข้อเท็จจริง ดังนั้น ในการศึกษา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นักเรียนจึงต้องค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐาน หลายแหล่งหรืออ่านหนังสือหลายเล่ม เพื่อจะได้สามารถแยกแยะ ว่าเรื่องใดเป็นความจริง เรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง เรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ในการรับรู้ รับฟังข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตประจำวันว่าเรื่องใดควรเชื่อ และเรื่องใดไม่ควรเชื่อ ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย ขั้นการกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้อง มีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและ เกิดขึ้นอย่างไร ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้อง พิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบ ด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการ เขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟง โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูล ในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า นั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การศึกษาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์ ตีความเรื่องราว และตรวจสอบ ความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้น ๆ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้ 1. หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี หลักฐานทางศิลปกรรมที่สำคัญ คือ ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี ศิลปวัตถุแบบทวารวดี นอกจากนี้ได้แก่ เงินตรา ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ 2. หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหน วัติอพยพมาจากเหนือ) จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย) รัตน์พิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคุนิทาน ( เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทย) จุลยุทธ์กาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ตลอดสมัยอยุธยา) ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย) ปัญหาของ หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า คือ เราไม่ทราบว่าผู้บันทึกเขียนไว้เมื่อไร มีความจริงแค่ไหน และแต่งเติมเพียงใด 3. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัย ที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ) จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา) จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์) จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ หมายเหตุ ศิลาจารึกให้ลำดับหลักตาม การค้นพบ ก่อน – หลัง 4. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดารพระราชพงศาวดารสยามมีมากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ 4.1 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ 4.2 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น 3 รัชกาล คือ 4.2.1 ฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ฉบับพระพันรัตน์ ฉบับบริติชมิวเซียม 4.2.2 ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส 4.2.3 ฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา 4.3 พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก 5. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศหลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติ เข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยา หลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึก จดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ บันทึกของบาดหลวงเดอ ชั่ว สี จดหมายเหตุวันวิลิต เอกสารฮอลันดา ฯลฯ อ้างอิงจาก (สุริยันตร์ เชาวน์ปรีชา: เอกสารประกอบ การสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัด ทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น หลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน หมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่า มีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลาง หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบดังนี้ 1.1 ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก ได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น 1.2 จุดมุ่งหมายของผู้บันทึก บางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น 1.3 ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง 1.4 คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือ จิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาด หรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น 1.5 ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่ 1.6 วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ 2. การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก เป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอม ไม่ว่าจะเป็น บางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้น ผู้ศึกษา ไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริง ๆ จึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วม มือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของ